วันเสาร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2558

ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาเครือข่ายเกษตรอินทรีย์



 อินทผลัม (Date) ผลไม้สวรรค์






อินทผลัม เป็นผลไม้ที่รู้จักกันดีสำหรับทุกคน จึงไม่ต้องอธิบายรายละเอียดมากนัก จากหลักฐานต่างๆ อุสตาส บูบีนู กล่าวว่า อินทผลัมมีแหล่งกำเนิดอยู่ในประเทศอียิปต์
อินทผลัมมีคุณค่าทางอาหารและมีประโยชน์มากมายต่อร่างกาย ในทุกๆ 100 กรัม อินทผลัมจะให้พลังงานความร้อน 157 แคลอรี และมีบางท่านกล่าวว่า มีถึง 383 แคลอรี ต้องขอกล่าวว่า อินทผลัมสด อินทผลัมแห้ง อินทผลัมเก่าและอินทผลัมชนิดต่างๆ จะมีปริมาณและส่วนประกอบที่ที่แตกต่างกัน 
บรรดาผู้นำแห่งอิสลามได้ให้ความสำคัญต่ออินทผลัมเป็นพิเศษ ด้วยเหตุนี้เราจะพบคำรายงานบทหนึ่งของอิหม่ามซอดิก (อ) ซึ่งท่านกล่าวว่า อาหารของศาสดามุฮัมมัด (ศ) คือข้าวบาร์เลย์ หากท่านมีมัน และอาหารหวานของท่านคืออินทผลัม (1)  เราจะพบในคำรายงานอีกเช่นกันว่า อิหม่ามอาลี (อ) จะรับประทานขนมปังกับอินทผลัม (2)
ในบางคำรายงานกล่าวว่า ศาสดามุฮัมมัด (ศ) และบรรดาผู้นำที่บริสุทธิ์ (อ) ได้กล่าวถึงคุณค่าต่างๆ ของอินทผลัมไว้ดังนี้ว่า วันหนึ่งมีคนนำอินทผลัมจำนวนหนึ่งมาวางต่อหน้าศาสดา (ศ) ท่านจึงกล่าวว่า แท้จริงในอินทผลัมมีคุณประโยชน์ 9 ประการ คือ (1) จะทำลายเชื้อโรค (2) บำรุงกระดูกสันหลัง (3) เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ (4) บำรุงหูและสายตา (5) ทำให้เข้าใกล้ชิดอัลลอฮฺ (6) ทำให้ออกห่างจากมารร้าย (7) ช่วยย่อยอาหาร (8) ขจัดโรคภัยไข้เจ็บ (9) ทำให้ปากมีกลิ่นหอม  (3)
 จากคำพูดของศาสดามุฮัมมัด (ศ) ที่อธิบายถึงคุณค่าต่างๆ ของอินทผลัมนั้น เราจะพบประโยคหนึ่งที่กล่าวว่า ช่วยขจัดโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งเป็นประโยคที่คล้ายคลึงกันกับคำพูดของอิหม่ามอาลี (อ) ที่ว่า ท่านทั้งหลายจงรับประทานอินทผลัมเถิด เพราะแท้จริงมันจะช่วยเยียวยารักษาความเจ็บป่วยต่างๆ  (4)
ปัจจุบันด้วยความก้าวหน้าทางด้านการแพทย์และโภชนาการ จึงทำให้เป็นที่ประจักษ์ชัดถึงความมหัศจรรย์ในคำพูดของศาสดามุฮัมมัด (ศ) ได้อย่างชัดเจน ซึ่งนักโภชนาการกล่าวว่า อินทผลัมสามารถช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้ จากสถิติที่รวบรวมจากดินแดนต่างๆ ที่มีการรับประทานอินทผลัมกันมาก จะประสบกับปัญหาของโรคมะเร็งน้อยมาก เนื่องจากปัจจุบันได้พิสูจน์แล้วว่า การขาดแมกนีเซียมจึงเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งได้ ด้วยเหตุนี้ชาวอาหรับและชาวทะเลทราย ที่ใช้ชีวิตอยู่ในสภาพที่ขาดแคลนอาหาร กลับไม่ต้องเผชิญกับโรคมะเร็ง ก็เพราะในอินทผลัมนั้นมีปริมาณแมกนีเซียมอยู่เป็นจำนวนมาก (5)

แมกนีเซียมในอินทผลัมยังมีประโยชน์ในการรักษาสิวในคนหนุ่มสาว ด้วยเหตุนี้หนุ่มสาวที่อยู่ในแถบภูมิภาคที่ไม่มีการปลูกอินทผลัม ก็สามารถหาอินทผลัมมารับประทานได้วันละ 2-3 ผล และอินทผลัมยังมีประโยชน์ในการรักษาโรคอัมพาตทั่วไปและอัมพาตที่ใบหน้า และอินทผลัมมีประโยชน์ต่อผู้สูงอายุ เนื่องจากจะช่วยบำรุงประสาท ล่าสุดเพิ่งค้นพบว่าการขาดแมกนีเซียมจะทำให้เกิดน้ำตาลในปัสสาวะ แมกนีเซียมมีความจำเป็นสำหรับไตและถุงน้ำดี ซึ่งสามารถขจัดสิ่งเหล่านี้ได้ด้วยการรับประทานอินทผลัมวันละ 2-3 ผลน้ำตาลที่มีอยู่ในอินทผลัมได้แก่ เล็ฟวูโลส คลูโคส แซ็กกาโรส เราเคยทราบกันมาว่าแมกนีเซียมในสมองของผู้สูงอายุจะค่อยๆ ลดน้อยลง ดังนั้นเพื่อทดแทนสิ่งที่สูญเสียไป จำเป็นต้องรับประทานอาหารที่มีแมกนีเซียมสูง และอินทผลัมคือหนึ่งในอาหารเหล่านั้น
ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานสามารถใช้ประโยชน์จากน้ำตาลของอินทผลัมแทนน้ำตาลทั่วไปได้ เนื่องจากแมกนีเซียมในอินทผลัมจะช่วยทำให้ไตและตับอ่อนทำงานได้ง่ายดายยิ่งขึ้น ในอีกด้านหนึ่ง วิตามินบี2 ที่มีอยู่ในอินทผลัมจะช่วยดูดซับน้ำตาลจากอาหารอื่น โปรแตสเซียมและแมกนีเซียมในอินทผลัม มีบทบาทอย่างมากในการสร้างความสมดุลแก่เซลต่างๆ ของร่างกาย และมีผลที่น่าอัศจรรย์ในการฟอกเลือด (6)
คุณสมบัติของอินทผลัมที่ถูกอธิบายไว้จากคำกล่าวของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) คือ
(1) อินทผลัมมีผลต่อการย่อยของอาหาร : เนื่องจากอินทผลัมมีสารอาหารที่จำเป็นเพียงพอ และมีปัจจัยกระตุ้นการย่อยและการดูดซึมสารอาหาร จึงมีส่วนช่วยในการย่อยอาหาร (7)
 (2) อินทผลัมมีผลต่อการเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ : ในอินทผลัมมีฟีลกูลีนในปริมาณหนึ่ง ซึ่งจะช่วยบำรุงการหลั่งน้ำเชื้อของเพศชาย (8)
 (3) อินทผลัมจะช่วยขจัดความเมื่อยล้า : ศาสดามุฮัมมัด (ศ) กล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงรับประทานอินทผลัมบุรอนี เพราะแท้จริงมันจะช่วยขจัดความเมื่อยล้าให้หมดไป จะช่วยดับความหนาวเย็น และจะทำให้พ้นจากความหิว และในอินทผลัมนั้นมี 72 ประตูแห่งการเยียวยารักษา (โรคต่างๆ) (9)
 (4) คุณสมบัติในการต่อต้านความหิวกระหาย (การขาดสารอาหาร) : การเริ่มต้นการละศีลอดด้วยอินทผลัมและลูกเกดในปริมาณเล็กน้อย จะทำให้ร่างกายขจัดความต้องการน้ำตาลที่เกิดจากการถือศีลอดได้ มันจะให้พลังงานที่จำเป็นต่อร่างกาย และช่วยยับยั้งการสะสมของไขมัน (การไม่เคลื่อนไหวหรือไม่ได้ใช้กำลัง จะทำให้เกิดการสะสมของไขมันใต้ผิวหนัง และทำให้ตับเกิดการบกพร่อง) ด้วยเหตุนี้การรับประทานอินทผลัมจะช่วยลดการสะสมของไขมัน และด้วยสารอาหารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อตับ จึงเพิ่มความทานต้านให้ร่างกาย (10)
ดังที่กล่าวไปแล้วว่า อินทผลัมให้พลังงานแก่ร่างกายโดยไม่ทำให้สิ่งใดบกพร่องไปจากร่างกายเลย ในขณะที่การดูดซึมและการย่อยอาหารอื่นๆ ทุกชนิด จะทำให้ร่างกายสูญเสียวิตามินซีหรือสารอาหารอื่นๆ ไปในปริมาณหนึ่ง แต่อินทผลัมยังคงมีสารอาหารที่จำเป็นอยู่ทั้งหมดด้วยคุณสมบัติต่างๆ ของอินทผลัมนี้เอง ศาสดามุฮัมมัด (ศ) จึงกล่าวว่า บ้านใดก็ตามที่ไม่มีอินทผลัมอยู่ในบ้าน แท้จริงแล้วบุคคลต่างๆ ในบ้านนั้นล้วนเป็นผู้หิวโหย (แม้ว่าท้องของพวกเขาจะอิ่มก็ตาม) (11)
 และอีกคำสอนหนึ่ง หลังจากการค้นคว้าวิจัยมาเป็นเวลานานของนักวิชาการ จึงค้นพบความลี้ลับของมันคือ การเริ่มต้นด้วยการรับประทานอินทผลัม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนรอมฎอน  ซึ่งคำรายงานได้กล่าวว่า เมื่อใดก็ตามที่อาหารถูกนำมายังศาสดามุฮัมมัด (ศ) หากในอาหารนั้นมีอินทผลัมอยู่ ท่านจะเริ่มต้นด้วยการรับประทานอินทผลัมก่อน และในช่วงที่มีอินทผลัมแห้ง ท่านมักจะละศีลอดด้วยอินทผลัมแห้ง แต่หากอยู่ในช่วงที่มีอินทผลัมสด ท่านจะละศีลอดด้วยอินทผลัมสด (12)
 ในช่วงของการละศีลอด ผู้ถือศีลอดจะรู้สึกหิวอย่างรุนแรง มีคนจำนวนมากที่รับประทานอย่างมากมายแต่ก็ยังรู้สึกไม่อิ่ม และด้วยความรู้สึกที่ยังหิวอยู่เขาจึงรับประทานต่อไปอีก แต่หลังจากรับประทานจนอิ่มจัด เขาจะรู้สึกอึดอัดและไม่สบายตัว ในที่นี้หากเขาเริ่มต้นการละศีลอดด้วยอินทผลัมในปริมาณหนึ่งก่อนรับประทานอาหาร การรับประทานอินทผลัมดังกล่าวจะยับยั้งเขาจากการรับประทานจนอิ่มเกินไปได้
 คุณสมบัติของอินทผลัมที่เกี่ยวข้องกับสภาพของจิตใจหรือทางจิตวิญญาณของมนุษย์ 
 ศาสดามุฮัมมัด (ศ) กล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงให้สตรีที่อยู่ในช่วงเดือนของเธอ ที่กำลังจะให้กำเนิดบุตร ให้เธอรับประทานอินทผลัมเถิด เพราะแท้จริงบุตรของเธอจะได้เป็นผู้ที่มีความอดทนอดกลั้น และเป็นผู้ที่สะอาดบริสุทธิ์
 (1) มุสตัดร็อก อัล วะซาอิล เล่มที่ 3 หน้า 113
(2) วะซาอิลุช ชีอะฮ์ เล่มที่ 17 หน้า 104
(3) วะซาอิลุช ชีอะฮ์ เล่มที่ 17 หน้า 107
(4) วะซาอิลุช ชีอะฮ์ เล่มที่ 17 หน้า 104
(5) ซับซีฮอ ว่า มีเวฮ์ฮอเย ชะฟามัคช์ หน้า 185
(6) เอาวะลีน ดอนิชกอฮ์ เล่มที่ 7 หน้า 74, 81 และ 84
(7) เอาวะลีน ดอนิชกอฮ์ เล่มที่ 7 หน้า 74, 81 และ 84
(8) เอาวะลีน ดอนิชกอฮ์ เล่มที่ 7 หน้า 84
(9) ซะฟีนะตุล บิฮาร เล่มที่ 1 หน้า 124
(10) เอาวะลีน ดอนิชกอฮ์ เล่มที่ 7 หน้า 81
(11) ซะฟีนะตุล บิฮาร เล่มที่ 1 หน้า 124
(12) บิฮารุล อันวาร เล่มที่ 66 หน้า 146
คัดจากหนังสือ อิสลามกับการแพทย์ที่ไม่ต้องพึ่งยา
อินทผลัม สรรพคุณและประโยชน์ของอินทผลัม 28 ข้อ !
เรียงเรียบข้อมูลโดย กรีนเนอรัลด์ ดอทคอม
อินทผลัม
อินทผลัม (อิน-ทะ-ผะ-ลำ) หรือ อินทผลัม ภาษาอังกฤษ Date Palm, Dates มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Phoenix dactylifera L. ซึ่งตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 จะสะกดคำนี้ว่า อินทผลัม ซึ่งเป็นคำที่ถูกต้อง แต่ให้ความหมายในภาษาปากว่า อินทผลัม โดยต้นอินทผลัมจัดเป็นพืชตระกูลปาล์มชนิดหนึ่ง และมีหลากหลายสายพันธุ์ เป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดีในเขตที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้งอย่างทะเลทราย โดยอินทผลัมมีถิ่นกำเนิดในแถบตะวันออกกลาง โดยประเทศที่ผลิตอินทผลัมรายใหญ่ได้แก่ อียิปต์ ซาอุดิอาระเบีย อิหร่าน อาหรับ แอลจีเรีย เรียงตามลำดับ
ต้นอินทผลัม มีลำต้นมีความสูงประมาณ 30 เมตร ขนาดของลำต้น 30-50 เซนติเมตร ลักษณะของใบเป็นแบบขนนกยาวแหลมติดอยู่บนต้นประมาณ 40-60 ก้าน แต่ละใบมีทางยาวประมาณ 3-4 เมตร ใบย่อยจะพุ่งออกแบบหลากหลายทิศทาง และดอกจะออกเป็นช่อ ออกดอกบริเวณโคนกาบใบ และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการแยกหน่อจากต้นใหญ่ตัวเมีย (เลือกต้นที่มีอายุ 5 ปีขึ้นไป) (รูปอินทผลัม ด้านล่าง)
ลูกอินทผลัม มีลักษณะเป็นผลทรงกลมรี ออกเป็นช่อ มีความยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร มีรสหวานฉ่ำ สามารถรับประทานได้ทั้งผลดิบและผลสุก โดยผลอินทผลัมสดจะมีสีเหลืองไปจนถึงสีส้ม และเมื่อแก่จัดผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลถึงน้ำตาลเข้ม (ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์) และพัฒนาการของผลอินทผลัมจะแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะผลดิบ > ระยะสมบูรณ์ > ระยะสุกแก่ > ระยะผลแห้ง โดยผลอินทผลัมสุกเราสามารถนำไปตากแห้งเก็บไว้รับประทานได้หลายปี และจะมีรสชาติหวานจัด เหมือนกับการนำไปเชื่อมด้วยน้ำตาล
สายพันธุ์อินทผลัม
Aabel – พบได้ทั่วไปในประเทศลิเบีย
Ajwah – สายพันธุ์จากเมืองเมดินา ประเทศซาอุดีอาระเบีย
Al-Barakah – สายพันธุ์จากประเทศซาอุดีอาระเบีย
Amir Hajj หรือ Amer Hajj – สายพันธุ์จากประเทศอิรัก ผลมีผิวบางเนื้อบาง
Abid Rahim – สายพันธุ์จากประเทศซูดาน แต่ในจีเรียจะเรียกว่า Dabino
Barhee หรือ Barhi – สายพันธุ์จากอาหรับ ลักษณะของผลเกือบกลม ผลสีเหลือง เมื่อสุกจะมีสีน้ำตาลเข้ม
Bireir – สายพันธุ์จากประเทศซูดาน
Datca Date – สายพันธุ์จากประเทศตุรกี
Deglet Noor – เป็นสายพันธุ์ที่นิยมปลูกมากในประเทศแอลจีเรียและประเทศตูนิเซีย
Derrie หรือ Dayri – เป็นสายพันธุ์จากทางตอนใต้ของอิรัก ลักษณะของผลยาวเรียว ผลสีเกือบดำ
Empress – สายพันธุ์ที่พัฒนาโดยครอบครัว DaVall ในอินดิโอแคลิเฟอร์เนียสหรัฐอเมริกา โดยเป็นพันธุ์ที่พัฒนามาจากสายพันธุ์ Thoory แต่จะมีผลขนาดผลที่ใหญ่กว่า มีความหวานกว่า สีของผลครึ่งบนเป็นสีแทนออกน้ำตาลๆสว่างๆ ส่วนครึ่งล่างเป็นสีน้ำตาล
Fardh หรือ Fard – สายพันธุ์นี้พบได้ทั่วที่ประเทศโอมาน ผลมีรสีน้ำตาลดำ รสชาติหวาน เมล็ดมีขนาดเล็ก
Ftimi หรือ Alligue – เป็นสายพันธุ์ที่เจริญเติบโตในประเทศตูนิเซีย
Holwah หรือ Halawi – สายพันธุ์อาหรับ มีขนาดผลเล็กถึงปานกลาง รสหวานมาก
Haleema – สายพันธุ์จากเมือง Hoon ในประเทศลิเบีย
Hayany – สายพันธุ์จากอียิปต์ ลักษณะของผลมีสีแดงเข้มเกือบดำ
Honey – ยังไม่พบข้อมูลของสายพันธุ์นี้
Iteema – สายพันธุ์ที่พบได้ทั่วไปในประเทศแอลจีเรีย
Kenta – สายพันธุ์ที่พบได้ทั่วไปในประเทศตูนิเซีย
Khadrawi หรือ Khadrawy – สายพันธุ์อาหรับ และเป็นที่นิยมของชาวอาหรับอย่างมาก ลักษณะของผลเป็นสีดำ
Khalasah – เป็นสายพันธุ์ที่มีชื่อเสียงมากในซาอุดีอาระเบีย เพราะมีความหวานที่พอดี ไม่มากหรือน้อยเกินไป
Khastawi หรือ Khusatawi หรือ Kustawy – สายพันธุ์จากอิรก มีขนาดเล็ก ใช้ทำเป็นน้ำเชื่อม มีราคาแพง
Maktoom – สายพันธุ์จากอาหรับ ผลมีขนาดใหญ่ สีน้ำตาลแดง เปลือกหนา รสหวานปานกลาง
Manakbir – ลักษณะของผลมีขนาดใหญ่
Medjool หรือ Mejhool – สายพันธุ์จากโมร็อกโก เนื้อหวานฉ่ำ
Migraf หรือ Mejraf – เป็นสายพันธุ์ที่นิยมมากในภาคใต้ของเยเมน ผลมีขนาดใหญ่ สีเหลืองทอง
Mgmaget Ayuob – สายพันธุ์จากเมือง Hoon ในประเทศลิเบีย
Mishriq – สายพันธุ์จากประเทศซูดานและซาอุดีอาระเบีย
Mozafati – สายพันธุ์จากอิหร่าน ผลมีขนาดกลาง รสหวาน
Nabtat-seyf – สายพันธุ์จากซาอุดิอาระเบีย
Rotab – สายพันธุ์จากอิหร่าน ผลมีสีเข้ม
Sag‘ai – สายพันธุ์จากซาอุดิอาระเบีย
Saidy หรือ Saidi – เป็นสายพันธุ์ที่นิมาในประเทศลิเบีย เพราะรสหวานจัด
Sayer หรือ Sayir – จากอาหรับ ผลมีขนาดปานกลาง สีส้มถึงน้ำตาลเข้ม
Sukkary – สายพันธุ์จากซาอุดีอาระเบีย เปลือกมีสีน้ำตาลเข้ม รสหวาน และมีราคาแพงที่สุด
Sellaj – สายพันธุ์จากซาอุดิอาระเบีย
Tagyat – เป็นสายพันธุ์ที่พบได้ทั่วไปในประเทศลิเบีย
Tamej – สายพันธุ์จากลิเบีย
Thoory หรือ Thuri – เป็นสายพันธุ์ที่นิยมมากในแอลจีเรีย ผลสีน้ำตาลถึงแดง เปลือกเหี่ยวย่น มีรสหวาน
Umeljwary – สายพันธุ์จากลิเบีย
Umelkhashab – สายพันธุ์จากซาอุดิอาระเบีย เปลือกสีแดงสดใส
Zahidi – ผลมีขนาดกลาง เปลือกสีทองถึงน้ำตาลสว่าง
Zaghloul – เปลือกสีแดงเข้ม ผลยาว กรอบ

คุณค่าทางโภชนาการของผลอินทผลัม (สายพันธุ์ Deglet Noor) ต่อ 100 กรัม
พลังงาน 282 กิโลแคลอรี
คาร์โบไฮเดรต 75.03 กรัม
น้ำตาล 63.35 กรัม                                                                         
เส้นใย 8 กรัม
ไขมัน 0.39 กรัม
โปรตีน 2.45 กรัม
น้ำ 20.53 กรัม
วิตามินเอ 10 ไมโครกรัม
เบต้าแคโรทีน 6 ไมโครกรัม 0%
ลูทีน และ ซีแซนทีน 75 ไมโครกรัม
วิตามินบี1 0.052 มิลลิกรัม 5%
วิตามินบี2 0.066 มิลลิกรัม 6%
วิตามินบี3 1.274 มิลลิกรัม 8%
วิตามินบี5 0.589 มิลลิกรัม 12%
วิตามินบี6 0.165 มิลลิกรัม 13%
วิตามินบี9 19 ไมโครกรัม 5%
วิตามินซี 0.4 มิลลิกรัม 0%
วิตามินอี 0.05 มิลลิกรัม 0%
วิตามินเค 2.7 มิลลิกรัม 3%
ธาตุแคลเซียม 39 มิลลิกรัม 4%
ธาตุเหล็ก 1.02 มิลลิกรัม 8%
ธาตุแมกนีเซียม 43 มิลลิกรัม 12%
ธาตุแมงกานีส 0.262 มิลลิกรัม 12%
ธาตุฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม 9%
ธาตุโพแทสเซียม 656 มิลลิกรัม 14%
ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม 0%
ธาตุสังกะสี 0.29 มิลลิกรัม 3%
ประโยชน์ของอินทผลัม
รับประทานอินทผลัมเป็นประจำ จะช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง ปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ
ประโยชน์ อินทผลัมช่วยบำรุงร่างกาย เพิ่มกำลัง ขจัดความความเมื่อยล้า ช่วยดับความหมายเย็น
เมื่อร่างกายมีอาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรง หกรับประทานอินทผลัมภายในครึ่งชั่วโมงก็จะทำให้ร่างกายกลับมามีกำลังเหมือนเดิม
ช่วยรักษาโรคผอมผิดปกติ ช่วยเพิ่มน้ำหนักตัว
ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน
ช่วยบำรุงและรักษาสายตา ช่วยป้องกันโรคตาบอดแสง หรือภาวะมองเห็นไม่ชัดในเวลากลางคืน
อินทผลัม สรรพคุณช่วยบำรุงตับอ่อน รักษาโรคเบาหวาน
ช่วยดูแลและควบคุมระบบประสาท
อินทผลัม มีโพแทสเซียมสูงจึงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดในสมองได้มากถึง 40%
สรรพคุณ อินทผลัมช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และความดันโลหิตสูง
อินทผลัมช่วยป้องกันมะเร็งช่องท้อง เนื่องจากมีฤทธิ์ช่วยกำจัดสารพิษและยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคมะเร็งในช่องท้องได้
ช่วยป้องกันโรคต่างๆที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจได้เป้นอย่างดี
อินทผลัม ประโยชน์ช่วยแก้กระหาย แก้อาการเจ็บคอ
สรรพคุณ อินทผลัมช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ (สาเหตุขมาจากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำและความดันโลหิตต่ำ)
อินทผลัม สรรพคุณช่วยลดเสมหะในลำคอ
ประโยชน์ของอินทผลัม กับการช่วยลดความหิวได้เป็นอย่างดี
อินทผลัมอุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร จึงช่วยป้องกันอาการท้องผูกได้
อินทผลัมช่วยในการย่อยอาหาร เพราะมีสารอาหารที่จำเป็นเพียงพอ และมีปัจจัยในการกระตุ้นการย่อยและดูดซึมสารอาหาร จึงช่วยในย่อยได้เป็นอย่างดี
จากรายงานการวิจัยในประเทศซาอุดิอาระเบีย พบว่าอินทผลัมสามารถช่วยทำให้กระเพาะอาหารแข็งแรง ช่วยป้องกันเยื่อบุในกระเพาะอาหาร ช่วยลดความรุนแรงของแผลในกระเพาะอาหาร และช่วยหลั่งฮีสตามีน (Histamine) และฮอร์โมนแกสตริน (Gastrin) จากการเหนี่ยวนำด้วยเอทานอล และยังช่วยลดระดับมิซซิน (Mucin) ในกระเพาะอาหารอีกด้วย
ประโยชน์อินทผลัม กับการช่วยรักษาและบำบัดพิษต่างๆ ด้วยการรับประทานวันละ 7 เม็ด (คัมภีร์อัลกุรอา)
ประโยชน์ของอินทผลัม กับการช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ เนื่องจากในอินทผลัมมีสารฟีลกูลีน จึงช่วยบำรุงการหลั่งน้ำเชื้อของเพศชายได้
การรับประทานอินทผลัมในขณะท้องว่างยามเช้า จะช่วยฆ่าเชื้อโรคต่างๆ พยาธิและสารพิษที่ตกค้างอยู่ในลำไส้หรือระบบทางเดินอาหารได้
อินทผลัม ประโยชน์สำหรับเด็กที่มีอาการทรมานทางประสาทโดยธรรมชาติ (อาการกระวนกระวาย หงุดหงิดง่าย มีความเครียด กลัว และกังวล) หรือมีอาการไฮเปอร์ไม่อยู่นิ่ง ให้รับประทานอินทผลัมจะช่วยลดอาการเหล่านี้ได้
การใส่อินทผลัมลงไปในนมจะช่วยเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการอย่างมากสำหรับเด็กและผู้ใหญ่
สำหรับหญิงตั้งครรภ์ การรับประทานอินทผลัมในช่วงเดือนท้ายๆก่อนคลอดบุตร จะช่วยขยายมดลูกในช่วงการคลอด และยังช่วยลดอาการตกเลือดหลังจากการคลอดได้อีกด้วย
สำหรับหญิงให้นมบุตรการรับประทานอินทผลัมจะช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้า และยังช่วยเพิ่มสารอาหารสำคัญในน้ำนม ซึ่งจะช่วยทำให้เด็กมีสุขภาพที่แข็งแรง ช่วยต้านทานโรคภัยไข้เจ็บต่างๆอีกด้วย
สำหรับชาวมุสลิม อินทผลัมสดๆ เป็นผลไม้ที่ชาวมุสลิมจะเก็บไว้รับประทานในช่วงเดือนรอมฏอน (เดือนถือศีลอด)
ชาวมุสลิมเชื่อว่าการรับประทานอินทผลัมจะช่วยป้องกันไสยศาสตร์ได้
แหล่งอ้างอิง : เว็บไซต์ 1000gooddeeds.com, หนังสืออิสลามกับการแพทย์ที่ไม่ต้องพึ่งยา (อะฮ์มัด อามีน ชีราซี), คัมภีร์อัลกุรอาน,
ถั่วอินคา (Sacha inchi)


ประวัติโดยทั่วไป
ถั่วอินคา เป็นถั่วที่เพาะปลูกโดยวิธีธรรมชาติ โดยเราจะนำเอาเมล็ดของต้นถั่วอินคา มาสกัด เพื่อเอาน้ำมัน โดยน้ำมันจากถั่วอินคา นั้น สามารถนำไปใช้ทำผลิตภัณฑ์ ได้อย่าหลากหลาย  ไม่ว่าจะเป็น สบู่ ชา อาหารเสริม ฯลฯ และ กากที่ได้จากการสกัดถั่วอินคานั้น ยังสามารถนำไปใช้เป็นโปรตีนให้กับสัตว์ ได้อีกด้วย ซึ่งประโยชน์ของถั่วอินคาที่สกัดได้แล้วนั้น ถ้าเปรียบเทียบกับ น้ำมันจากปลาทะเล นั้นมี มากกว่า น้ำมันจากปลาทะเล และกรรมวิธีรวมถึงวิธีการรักษานั้น ก็ไม่ยุ่งยากเหมือนน้ำมันจากปลาทะเล และไม่มีคอเลสเตอรอล

ประโยชน์ที่ได้จากน้ำมันถั่วอินคา
- มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ
- มีกรดไขมัน โอเมก้า 3,6 และ 9
- มีวิตามิน A และ E
- ช่วยในการลดระดับเคอเลสเตอรอลและป้องกันการแข็งตัวของเลือด
- ลดน้ำหนักควบคุมระบบน้ำตาลในเลือด ลดอาการซึมเศร้า
- ประโยชน์ในการรักษาโรค Crohn (การอักเสบของลำไส้) ช่วยรักษาสุขภาพผิวและป้องกันผมร่วง ลดปัญหาที่เกิดขึ้นกับฮอร์โมนของผู้หญิง
- รักษาโรคผิวหนัง หอบหืด ไมเกรน ต้อหิน รักษาการอักเสบของกล้ามเนื้อและมีคุณสมบัติต้านการอักเสบความเมื่อยล้า,โรคข้ออักเสบ, โรคไขข้อ, ภาวะหลอดเลือด, โรคกระดูกพรุน
- ความเครียดอ่อนเพลียหงุดหงิดประสาทหรือจิตและนอนไม่หลับ
- ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ ความดันเลือดสูง ลดความเสี่ยงจากโรคมะเร็ง
- พัฒนาการสมองของเด็ก ป้องกันโรคอัลไซส์เมอร์ โรคพารคินสัน


มะเดื่อฝรั่ง (fig)
มะเดื่อฝรั่ง  หรือ  Fig    มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า   Ficus carica L.  อยู่ในวงศ์   Moraceae เช่นเดียวกับพวกหม่อน  (mulberry)   มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันตก มีการปลูกมะเดื่อฝรั่งมานับพันปีในประเทศแถบลุ่มแม่น้ำเมดิเตอร์เรเนียนของยุโรปและแอฟริกาเหนือ  (Manago, 2006)  ปัจจุบันการปลูกมะเดื่อฝรั่งได้ขยายออกไปอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะในประเทศสเปน  ตุรกี  และอิตาลี    บางพันธุ์สามารถปลูกได้ในแคลิฟอร์เนียทางใต้และพื้นที่แห้งแล้งของอเมริกา    มะเดื่อฝรั่งเป็นแหล่งที่ดีของเส้นใยอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อขบวนการกำจัดของเสียของร่างกาย  ในผลสดมีปริมาณเส้นใยอาหาร  1.2 %  ส่วนในผลอบแห้งสูงถึง  5.6% กล่าวได้ว่ามะเดื่อฝรั่งเป็นผลไม้ที่น่าสนใจมากในแง่ของอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง     เกลือโปแตสเซียมในกรดอินทรีย์ของมะเดื่อฝรั่งช่วยสร้างความสมดุลระหว่างความเป็นกรด-ด่างในร่างกายโดยไม่ให้เกิดกรดมากเกินไป  นอกจากนี้ยังพบว่ามีโปรตีน  เอ็นไซม์  วิตามินและเกลือแร่ชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย
         มะเดื่อฝรั่งเป็นต้นไม้ที่มีอายุยืนยาวได้มากกว่า 100 ปี ในทางการค้าจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นานหลายสิบปีขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน สภาพภูมิอากาศ ตลอดจนการเขตกรรมที่เหมาะสมสามารถให้ผลผลิตได้ 1 – 2 ครั้งต่อปี   ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับสายพันธ์และสภาพแวดล้อมในพื้นที่ปลูก ในฤดูใบไม้ผลิ ผลรุ่นที่หนึ่งจะพัฒนามาจากตาที่เกิดจากกิ่งปีที่แล้ว ส่วนผลรุ่นที่สองจะเกิดจากกิ่งที่กำลังเจริญเติบโต ในช่วงเวลาที่ถัดมาและพบว่ามีจำนวนมากกว่าชุดแรก
         ปัจจุบันพบว่าผลผลิตทั่วโลกประมาณ 90% จะถูกแปรรูปเป็นผลไม้แห้ง นอกนั้นจะใช้รับประทานเป็นผลสดโดยเก็บเกี่ยวจากต้น ซึ่งต้องมีการคัดเลือก บรรจุลงภาชนะอย่างระมัดระวัง และเก็บไว้ในที่ที่มีความเย็นก่อนถึงตลาดหรือผู้บริโภค   มีปริมาณน้อยมากที่บรรจุลงในกระป๋องหรือทำการแปรรูปอื่น ๆ
         ในประเทศไทย    มูลนิธิโครงการหลวงมีการศึกษาวิจัยมะเดื่อฝรั่งมานานกว่า  20  ปีแล้ว  โดยมีจุดประสงค์ที่มุ่งเน้นการปลูกพืชที่สร้างรายได้ให้กับชาวไทยภูเขาทดแทนฝิ่น  ตามสถานีวิจัยต่าง ๆ ของมูลนิธิโครงการหลวง    กระทั่งปัจจุบันการศึกษาวิจัยได้ทำการศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยา  กายวิภาควิทยา  และการเจริญเติบโตของมะเดื่อฝรั่งบางสายพันธุ์   โดยเน้นไปที่การปรับตัวและการให้ผลผลิตในสภาพพื้นที่สูงในเขตร้อนโดยทั่วไปมะเดื่อฝรั่งสามารถเจริญเติบโตได้ในทุกพื้นที่ของประเทศไทย    
          ลักษณะทางสัณฐานวิทยา  ลำต้นจะเป็นเนื้อไม้สีอ่อนที่แยกหลุดออกได้ง่าย  และไม่พบส่วนที่เป็นไส้ไม้ (pith) อยู่  ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว  ส่วนใหญ่ขอบใบหยักลึก  3-5  หยัก  แต่ก็อาจพบลักษณะที่ตรงไม่หยัก  ทำให้ภายในต้นเดียวกันมีรูปร่างใบได้หลายแบบและใช้ในการจำแนกสายพันธุ์ได้   มีความหนาและค่อนข้างแข็ง   ก้านใบที่อยู่ในพื้นที่ร่มจะมีความยาวกว่าส่วนที่อยู่ในพื้นที่กลางแจ้ง   สีของก้านใบจะมีความสัมพันธ์กับสีของผลและตายอด   ดอกมีขนาดเล็กอยู่ภายในส่วนที่เป็นฐานรองดอก  มีสามประเภทได้แก่   ดอกตัวเมียที่มีก้านเกสรเพศเมีย  (style) ยาว  ดอกตัวเมียที่มีก้านเกสรเพศเมียสั้น  (ดอกทั้งสองชนิดสามารถเกิดการผสมเกสรและเจริญต่อไปเป็นผล)   และดอกตัวผู้   ผลของมะเดื่อฝรั่งไม่ใช่ผลจริงแต่เป็น  synconium   หรือ  ฐานรองดอกที่มีส่วนประกอบของช่อดอกมีก้านโค้งเข้าหากัน  จัดเป็นแบบผลเมล็ดเดียว  (drupelet)  ขนาดเล็กเรียงอยู่ด้านในของก้านช่อดอก  ผลจึงมีขนาดเล็ดคล้ายเมล็ด   โดยขนาดและปริมาณผันแปรตามสายพันธุ์   พบว่ามีจำนวนประมาณ  1,500  ผลต่อมะเดื่อหนึ่งผล  รูปทรงและขนาดของผลมะเดื่อมีหลายแบบขึ้นกับพันธุ์  เช่น  กลวงโบ๋  (hallow)  ทรงกลม  (globular)   หรือทรงระฆังเหมือนผลสาลี่ฝรั่ง  (pear-shaped)   และมีขนาดเล็กใหญ่ต่าง ๆ กัน  ส่วนมากเมล็ดภายในมีลักษณะแบน  สีเหลืองถึงน้ำตาลอ่อน  จะมี  endocarp  ห่อหุ้ม  ทำให้มีความแข็งเล็กน้อย  ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของพืชชนิดนี้
          โดยทั่วไปมีการแบ่งพืชชนิดนี้ออกเป็นสองประเภทหลัก    ได้แก่   Adriatic  fig  คือพวกที่สามารถมีการเจริญแบบ  parthenocarpic  ไม่ต้องอาศัยการผสมเกสร   ทำให้ปลูกได้ในสภาพพื้นที่ที่มีอุณหภูมิต่ำได้  พบว่าเมล็ดของประเภทนี้จะมีแต่ส่วนของ  endrocarp  เท่านั้น  และภายในไม่มีคัพภะ  มะเดื่อฝรั่งที่จัดอยู่ในประเภทนี้จะเป็นพวกที่มีความสำคัญในปัจจุบัน  และมีสายพันทางการค้ามากมาย  เช่น  Brown  Turkey, Burnswick, Kadota, Mission  และ  White Adriatic   ส่วนอีกประเภทคือ  Smyrna  fig  เป็นพวกที่มีเกสรตัวเมียต้องการการผสมเกสรสำหรับการให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ  และเมล็ดมีการพัฒนาของคัพภะ   แต่ถ้าหากไม่ได้รับการผสมเกสรแล้ว  ส่วนของผลจะร่วงได้
         ในการปรับปรุงพันธุ์มะเดื่อฝรั่ง   จะคัดเลือกสายพันธุ์ดีที่มีลักษณะที่ต้องการมาผสมข้ามสายพันธุ์   โดยการผสมเกสร   จากนั้นเมื่อผลมะเดื่อสุก   จึงเพาะเมล็ด   และคัดเลือกลักษณะที่ตรงตามสายพันธุ์ที่ต้องการ  เมื่อได้สายพันธุ์ดีจึงนำกิ่งพันธุ์ดีมาทำการเปลี่ยนยอดกับต้นตอในแปลงปลูก
สายพันธุ์และลักษณะที่น่าสนใจ
  • Brown Turkey (ชื่ออื่น  Turkey , Southeastern Brown turkey, San Piero , Black Spaish)  เป็นพันธุ์ที่มีการปลูกกันมากที่สุด   ผลมีขนาดใหญ่  รับประทานสด   ผลผลิตชุดแรกมีขนาดใหญ่สีน้ำตาลเข้ม   ผลชุดหลังมีขนาดเล็กกว่า  เนื้อผลสีชมพูอ่อน ๆ ต้นมีขนาดเล็ก  ถ้าถูกตัดแต่งมากจะกระทบต่อผลผลิต
  • Celeste  (ชื่ออื่น    Blue Celeste, Celestial, Malta)  ผลออกสีเหลืองแดงปนม่วง   เนื้อเหลืองอำพันเหมือนสีดอกกุหลาบ   รับประทานสด  เป็นพันธุ์ที่ถูกแนะนำให้ปลูกโดยทั่วไป  ต้นมีความแข็งแรง
  • Kadota  (ชื่ออื่น  Florentine)   ผิวผลมีความเหนียวและสีเหลืองเขียว  ผลผลิตชุดแรกมีรสชาติที่ดีกว่า  เป็นพันธุ์ที่ใช้ในการอบแห้งและแปรรูป  ต้นมีความแข็งแรง  ปกติไม่มีเมล็ด  หรือ  Seedless
  • Conadria   มีต้นกำเนิดแถบริมแม่น้ำในแคลิฟอร์เนีย   ผลมีผิวบางและสีขาวเจือม่วง   เนื้อผลสีขาวถึงแดง   ไม่เน่าง่าย  ต้นมีความแข็งแรง   สามารถปลูกในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิได้
  • Dauphine  (ชื่ออื่น   Ronde Violltte Hative, Adam, Pequadiere, Pl no. 18873)   ปลูกในฝรั่งเศส   ใช้บริโภคผลสด  ทนทานต่อการขนส่ง  ผลมีขนาดปานกลางถึงใหญ่  ผิวเป็นมัน  ในสภาพกลางแจ้งผิวสีม่วงเข้ม   และในร่มสีม่วงออกเขียว  เนื้อหนา  คุณภาพดี  ผลรุ่นสองมีขนาดปานกลาง